โรคขนคุด หรือหลายคนเรียกว่า สิวขนคุด เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในบริเวณที่มีการเสียดสีหรือการโกน ถอน หรือแว็กซ์ขนบ่อยครั้ง โดยขนคุด เกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังตายสะสมอุดตันรูขุมขน ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกออกมาได้ตามปกติ และทำให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ สร้างความรำคาญให้กับหลาย ๆ คน
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Toggleบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า วิธีแก้ขนคุดสามารถทำได้อย่างไรบ้าง รวมถึงเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร ที่จะไม่ทำให้ขนคุดเกิดขึ้นซ้ำอีก ไปดูกันเลย
ขนคุดคืออะไร ส่งผลต่อผิวอย่างไร?
Keratosis Pilaris หรือ ขนคุด คือภาวะทางผิวหนังที่เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วในรูขุมขน ทำให้ขนที่งอกออกมาจากรูขุมขนถูกอุดตันและไม่สามารถงอกออกมาได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ หรือรอยนูนบริเวณผิวหนัง มักพบได้ทั่วไปและไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่สร้างความกังวลให้กับหลายคน
ซึ่งส่วนใหญ่ขนคุดไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่ในกรณีที่ขนคุดอักเสบ อาจรู้สึกคันหรือเจ็บเล็กน้อย แต่หากพยายามบีบหรือแกะตุ่ม อาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเกิดรอยแผลเป็น ส่งผลต่อปัญหาผิวระยะยาวได้
ขนคุดมีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง?
ขนคุด สามารถพบได้ในหลายบริเวณของร่างกาย และสามารถพบได้ทั่วไปในทุกเพศ ซึ่งอาการของขนคุดมีดังนี้
- มีลักษณะเป็นตุ่มแข็งเล็กๆ สีเดียวกับผิวหรือออกแดง มักกระจายตัวในบริเวณที่เกิดขนคุด
- ผิวบริเวณที่เกิดขนคุดอาจดูหยาบและไม่สม่ำเสมอ ทำให้สัมผัสแล้วรู้สึกเป็นตุ่มเล็ก ๆ
- บางครั้งอาจมองเห็นขนที่งอกอยู่ใต้ผิวหนังเป็นจุดดำเล็ก ๆ
- พบบ่อยในบริเวณที่มีการเสียดสี เช่น ต้นแขน ต้นขา แก้ม รักแร้ หรือสะโพก
- อาการคันหรือระคายเคืองในบางกรณี โดยเฉพาะเมื่อขนคุดอักเสบ เป็นหนอง
- สีผิวอาจเปลี่ยนแปลง อาจทำให้เกิดรอยแดง รอยดำ หรือรอยแผลเป็น หากมีการอักเสบเรื้อรัง
สาเหตุของปัญหาขนคุดเกิดจากอะไร?
ปัญหาขนคุด เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วซึ่งอุดตันรูขุมขน ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกออกมาตามปกติ โดยขนที่ติดอยู่ใต้ผิวอาจทำให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ คล้ายหนังไก่ สาเหตุหลักมักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมที่ทำให้ผิวหนังผลิตเคราตินในปริมาณมากเกินไป
นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นที่กระตุ้นการเกิดขนคุด ได้แก่ การโกนขนที่ไม่ถูกวิธี การสวมใส่เสื้อผ้าคับแน่นซึ่งเพิ่มการเสียดสีบริเวณผิวหนัง ทำให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น และเกิดขนคุดตามมาได้
ขนคุดเกิดบริเวณไหนได้บ้าง พบบริเวณไหนบ่อยสุด?
ขนคุด เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในหลายบริเวณของร่างกาย โดยเฉพาะจุดที่มีรูขุมขนหนาแน่นหรือเกิดการเสียดสีเป็นประจำ โดยสามารถเกิดขึ้นบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
- ขนคุด รักแร้ เกิดจากการโกน ถอนขน หรือใช้สารเคมีที่ระคายเคือง ทำให้รูขุมขนอุดตันผิวอาจมีตุ่มเล็ก สีแดง หรือสีเดียวกับผิว บางครั้งรู้สึกคันหรือระคายเคือง
- ขนคุดที่ขา พบได้บ่อยจากการโกนขนขา การสวมเสื้อผ้าที่แน่น หรือผิวแห้ง ซึ่งลักษณะเป็นตุ่มแข็งเล็กๆ สีแดงหรือน้ำตาล ผิวไม่เรียบเนียน
- ขนคุดที่แขน มักเป็นตุ่มขึ้นที่แขน หรืออาจเป็นตุ่มเหมือนสิว ที่แขน โดยเฉพาะด้านนอก อาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและผิวแห้ง มีลักษณะเป็นตุ่มหยาบเล็กๆ ทำให้สัมผัสแล้วรู้สึกไม่เรียบ
- ขนคุดที่น้องสาวหรือน้องชาย มักเกิดจากการโกน ถอนขน หรือสวมใส่ชุดชั้นในที่รัดแน่นเกินไปตุ่มขนคุดบริเวณนี้อาจทำให้ระคายเคือง หรืออักเสบได้ง่าย
- ขนคุดที่หลัง เกิดจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วสะสมในรูขุมขน โดยเฉพาะบริเวณที่มีเหงื่อและเสียดสี ลักษณะเป็นตุ่มเล็กกระจายตัว อาจมีอาการคันร่วมด้วย
- ขนคุดที่หน้า เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รูขุมขนอุดตัน หรือขนที่งอกผิดปกติใต้ผิวหนัง ตุ่มเล็กๆ สีแดงหรือน้ำตาล ผิวบริเวณนี้อาจดูไม่เรียบเนียน และในบางกรณีอาจมีขนติดอยู่ใต้ผิวหนัง
แนะนำวิธีรักษาขนคุด วิธีไหนเหมาะกับเรา?
วิธีรักษาขนคุดที่ขา แขน หลัง และบริเวณอื่น ๆ สามารถรักษาได้หลากหลายวิธี แต่ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับปัญหาและทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งขนคุด รักษาได้ดังนี้
ถอนขนคุด
เป็นการใช้แหนบดึงขนคุดออกอย่างเบามือ แต่ต้องทำความสะอาดผิวและอุปกรณ์ก่อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งข้อดีคือ ช่วยกำจัดขนที่งอกผิดปกติได้ทันที แต่ก็มีข้อควรระวังคือ การถอนที่แรงเกินไปอาจทำให้ผิวอักเสบหรือเกิดรอยแผลเป็นได้ ควรทำเฉพาะกรณีที่ขนคุดอยู่ตื้นและมองเห็นได้ชัดเจน
เลเซอร์ขน
การเลเซอร์ขน เป็นการใช้เลเซอร์พลังงานสูงในการกำจัดขนและลดการเกิดขนใหม่ ช่วยแก้ปัญหาขนคุดได้อย่างถาวร ซึ่งมีข้อดีคือ ให้ผลลัพธ์ยาวนาน ลดปัญหาขนคุดซ้ำซาก และช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง และอาจต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อผลลัพธ์ที่ชัดเจน
สครับผิว
เป็นการใช้ผลิตภัณฑ์สครับหรือกรดผลัดเซลล์ผิว เช่น กรดซาลิไซลิกหรือกรดแลคติก ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วที่อุดตันรูขุมขน มีข้อดีคือ สามารถทำได้ง่าย ช่วยลดการอุดตันและทำให้ผิวเรียบเนียน แต่ไม่ควรขัดผิวแรงเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออักเสบได้
ทำ IPL กำจัดขนคุด
เป็นการใช้แสงความเข้มสูง (IPL) เพื่อทำลายรากขนและลดการเกิดขนใหม่ พร้อมทั้งช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกำจัดขนถาวรและแก้ปัญหาขนคุดในระยะยาว แต่ก็อาจมีผลข้างเคียง เช่น รอยแดงหรือการระคายเคืองหลังทำ
ทายาลดขนคุด
เป็นการใช้ยาทาหรือครีมที่มีส่วนผสมของเรตินอล กรดซาลิไซลิก หรือกรดแลคติก เพื่อผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันในรูขุมขน มีข้อดีคือ เป็นวิธีที่สะดวก ใช้งานง่าย และช่วยลดการเกิดขนคุดได้ในระยะยาว แต่อาจทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคือง ควรใช้ควบคู่กับมอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิว
รวมวิธีป้องกันขนคุดที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาซ้ำซาก
ในการกำจัดขนคุด วิธีรักษาอาจไม่สำคัญเท่ากับวิธีป้องกัน เพราะหากได้รับการรักษาแล้วไม่ป้องกัน อาจทำให้เกิดปัญหาขนคุดเรื้อรังได้ โดยวิธีการป้องกันขนคุดเกิดซ้ำ มีวิธีการดังนี้
ไม่แกะหรือเกาบริเวณที่ขนคุด
การแกะหรือเกาตุ่มขนคุดอาจทำให้ขนคุดไม่สามารถหายขาดได้ มากไปกว่านั้นอาจส่งผลทำให้ผิวหนังอักเสบและเกิดรอยแผลเป็น ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณดังกล่าวโดยตรง และหาวิธีดูแลผิวที่เหมาะสมแทน เช่น การผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยนด้วยการสครับแบบเบา ๆ
ใช้ครีมบำรุงเพิ่มความชุ่มชื้นผิว
หลังการกำจัดขนคุดมักจะทำให้ผิวบริเวณนั้น ๆ แห้งได้ การเพิ่มความชุ่มชื้นจะช่วยลดการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และป้องกันการอุดตันของรูขุมขน โดยที่ควรเลือกครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ เช่น ยูเรียหรือเซราไมด์ เพื่อฟื้นฟูความเรียบเนียนของผิว
หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน
การอาบน้ำร้อนทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองง่ายขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน และควรอาบน้ำอุ่นหรือใช้น้ำในอุณหภูมิที่เหมาะสม พร้อมทาครีมบำรุงทันทีหลังอาบน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิว
สรุป ขนคุดหายเองได้ไหม? รักษาขนคุดที่ Apex
ปัญหาขนคุดอาจสามารถหายเองได้ในบางกรณี แต่การรักษาขนคุดในระยะยาว จำเป็นต้องมีวิธีการรักษาที่ถูกต้องและก่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ซึ่งที่ Apex Hospital & Beauty Clinic มีนวัตกรรมเลเซอร์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการรักษาขนคุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้คลินิกเลเซอร์ขนที่มีมาตรฐาน ทำให้มั่นใจได้ถึงคุณภาพและผลลัพธ์จากการรักษาอย่างแน่นอน
หากมีข้อสงสัยว่า ทาง Apex มีนวัตกรรมเลเซอร์แบบไหนบ้าง เหมาะกับปัญหาแบบไหน หรือเลเซอร์ขน ราคาเท่าไหร่ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ แล้วพบกันนะคะ
ช่องทางการติดต่อ
- Tel.080 500 0123
- Line : https://lin.ee/mDmt5oV
- IG : apexbeauty
- Tiktok : apexprofoundbeauty
- Youtube : Apex.beautyclinic
- X : ApexProfound
อ้างอิง
American Academy of Dermatology. (2023, January 15). Treating keratosis pilaris: Tips and techniques. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/keratosis-pilaris-treatment
Harvard Health Publishing. (2021, November 3). Keratosis pilaris: What it is and how to treat it. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/keratosis-pilaris-treatment-and-self-care-for-this-common-skin-condition
WebMD. (2022, December 10). Keratosis pilaris: Symptoms, causes, and treatment. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/keratosis-pilaris