Chelation
ด้วยเหตุที่เรามีโอกาสรับสาร “โลหะหนัก” กันตลอดเวลา เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมียม ฯลฯ ทั้งในอากาศ อาหารที่เรารับประทานที่มีการปนเปื้อนของสารต่างๆ หรือแม้กระทั่งข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ปริมาณโลหะหนักในเลือดจึงอาจมีสูงจนร่างกายไม่สามารถขจัดออกไปได้หมด ครั้นจะรอกลไกธรรมชาติก็ช้าไม่ทันการ ปัจจุบันมีวิธีการที่ได้ผลดีในการขจัดสารโลหะหนักออกจากเลือดเป็น “การล้างสารพิษ” ออกจากเลือดและช่วยฟื้นฟูหลอดเลือด ที่เรียกว่า “คีเลชั่น”
อ่านหัวข้ออื่นๆเพิ่มเติม
Chelation คืออะไร ?
คือ การให้สารละลายที่มีส่วนผสมของ EDTA (Ethylene Diamine Tetra Acetic Acid) ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสารที่จะทำการดักจับกับโมเลกุลของโลหะหนัก แล้วขับออกมาทางปัสสาวะ
โลหะหนักที่ควรกำจัดออกมีอะไรบ้าง
โลหะหนักที่ไม่ควรมีในร่างกาย ได้แก่ ปรอท (Mercury) ตะกั่ว (Lead) สารหนู (Arsenic) ในกระแสเลือดแคลเซียม (Calcium) ที่เกาะตามผนังหลอดเลือดและฝังอยู่ในเนื้อเยื่อ
ทำไมถึงมีโลหะหนักอยู่ในร่างกาย
การรับสารพิษที่ทำให้มีโลหะหนักอันตรายสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น มีได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ปนเปื้อนจากมลภาวะ เช่น ควันจากท่อไอเสีย ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ยาฆ่าแมลงในในแหล่งน้ำธรรมชาติ
- ปนเปื้อนในอาหาร เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป ผักหรือผลไม้สดบางแหล่ง รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่อาหารด้วย
- ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เช่น น้ำยาเปลี่ยนสีผม ลิปสติก ยาทาเล็บ
- ปนเปื้อนในยา เช่น ยาแผนโบราณ ยาลูกกลอน ยาชุด
Chelation ช่วยเรื่องอะไร
- ขจัดสารพิษตกค้างในร่างกายและระบบหลอดเลือด
- กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต
- ลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด
- ลดปริมาณการใช้อินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน
- ลดความดันโลหิต
- ลดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
- บำบัดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
- ลดอาการโรคภูมิแพ้
- กระตุ้นการทำงานของเส้นเลือดที่ปลายแขนและปลายขา
- ลดอาการของโรคอัลไซเมอร์
- เพิ่มความไวในการรับสัมผัส เช่น การรับรส การมองเห็น และการได้ยิน
ใครเหมาะทำคีเลชั่นบ้าง
• คนทั่วไปที่ต้องการดูแลสุขภาพ
• มีความเสี่ยงได้รับ โลหะหนัก หรือสารเคมีเป็นประจำ หรือตรวจพบสารโลหะหนักในร่างกายจำนวนมาก
• คนที่รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียลง ไม่สดชื่น นอนไม่หลับ
• มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ที่เกิดจากพิษของโลหะหนัก เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เบาหวาน
• มีพฤติกรรมการกินไม่เหมาะสม เช่น ชอบกินอาหารรสหวานจัด มันจัด เนื้อสัตว์ ของทอด ของปิ้งย่าง
• มีภาวะเครียดเป็นเวลานาน
• สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์มาก
• ผู้หญิงที่กำลังวางแผนมีบุตร
เตรียมตัวอย่างไรก่อนทำคีเลชั่น
แพทย์จะซักประวัติ ตรวจสุขภาพ ตรวจระดับการทำงานของไต และทำการตรวจเบื้องต้นที่เรียกว่า Live Blood Analysis โดยจะเจาะเลือดปลายนิ้ว 1 หยด แล้วนำมาส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงและส่งภาพผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการปะปนของโลหะหนักในเลือด
“คีเลชั่น” ขั้นตอนง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก
แพทย์จะให้สารน้ำเข้าไปทางหลอดเลือดเพื่อไปไล่จับสารโลหะหนักออกไป ซึ่งสารที่ว่านั้นก็คือ โปรตีนสังเคราะห์ที่เรียกว่า EDTA โดยแพทย์จะนำมาใส่ในสารน้ำพร้อมกับผสมวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลายชนิดลงไปด้วย จากนั้นจะให้สารน้ำนี้ทางหลอดเลือดดำเหมือนการให้น้ำเกลือทั่วไป ขณะการทำคีเลชั่น ผู้เข้ารับบริการสามารถทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เนต อ่านหนังสือ รับประทานอาหาร ฯลฯ ได้ สาร EDTA ก็จะไปจับกับอนุภาคของโลหะหนักในร่างกาย ส่วนวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยฟื้นฟูสุขภาพและผิวพรรณให้ดีขึ้น จากนั้นสาร EDTA ที่จับกับโลหะหนักก็จะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ดังนั้น คนที่มีภาวะไตวายจึงไม่เหมาะทำคีเลชั่น เนื่องจากร่างกายจะขับสารโลหะหนักผ่านทางไตทำให้ไตทำงานเพิ่มขึ้น ส่วนเรื่องของอายุไม่เป็นอุปสรรคใดๆ ถ้าต้องการทำ แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและอายุของผู้มารับบริการ
ทำคีเลชั่นได้บ่อยแค่ไหน
จำนวนครั้งในการทำของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ปัญหา และผลที่ได้หลังทำของแต่ละคน โดยปกติจะทำประมาณ 10 – 20 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ เนื่องจากต้องมีการควบคุมปริมาณยาให้เหมาะสม
Chelation อันตรายมั้ย
Chelation ถือว่าเป็นการให้สารละลายทางเส้นเลือดที่ปลอดภัย ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย จึงถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการการดูแลรักษาผู้ที่มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ที่ปลอดภัย เชื่อถือได้
แต่อย่างไรก็ตาม หลังรับ Chelation อาจมีอาการข้างเคียงบ้างเล็กน้อย แตกต่างกันตามสุขภาพของแต่ละคน เช่น
- แสบร้อนบริเวณผิวหนังที่ถูกฉีดยา
- มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- รู้สึกง่วงและอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ในช่วง 1–2 วัน หลังรับ Chelation
สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ Apex Medical Center ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองค่ะ